ตระกูล ทาอาษา
ตระกูล ทาอาษา | |
---|---|
เกิด | 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย |
เสียชีวิต | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (35 ปี) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา |
สัญชาติ | ไทย |
ชื่ออื่น | ปุ๊ |
ปีปฏิบัติงาน | 2550–2563 |
ผลงานเด่น | วีรบุรุษจาก เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 |
คู่สมรส | สัตวแพทย์หญิง ณัฐกานต์ คุรุพันธ์ (หมอจุ๋ม) |
บิดามารดา |
|
ตระกูล ทาอาษา | |
---|---|
รับใช้ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
แผนก/ | กองบัญชาการตำรวจนครบาล |
ชั้นยศ | พลตำรวจโท |
พลตำรวจโท ตระกูล ทาอาษา (ชื่อเล่น ปุ๊: 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 – 9 กุมภาพันธ์ 2563) หรือที่รู้จักในชื่อ ผู้กองปุ๊ นายตำรวจชาวไทยซึ่งเสียชีวิตระหว่างการปะทะจาก เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563
ประวัติ
[แก้]ตระกูลเกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ที่ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรชายของ นายก๋วน และ นางเพียรศรี ทาอาษา มีน้องชายคือ ยุทธนา ทาอาษา
ตระกูลเสียชีวิตเมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ระหว่างการปะทะกันใน เหตุกราดยิงที่เทอร์มินอล 21 โคราช
ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าพระราชทานยศ พลตำรวจโท เป็นกรณีพิเศษแก่ ร้อยตำรวจเอก ตระกูล ทาอาษา โดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ณ วัดดงมะตื๋น อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย
การศึกษา
[แก้]- ระดับประถมศึกษา - โรงเรียนบ้านดงมะตื๋น
- ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 - โรงเรียนวัดห้วยเคียน
- ระดับ ปวช. - โรงเรียนโปลิเทคนิคเชียงราย
- หลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 9 จังหวัดยะลา
หลักสูตรพิเศษ
[แก้]- หลักสูตรการต่อต้านการก่อการร้าย (นเรศวร 261) รุ่นที่ 14 บก.สอ.บช.ตชด.
- หลักสูตรทำลายวัตถุระเบิด กองสรรพาวุธ รุ่น 13
- หลักสูตรการกระโดดร่มแบบกระตุกเอง บก.สอ.บช.ตชด.
ตำแหน่ง
[แก้]- 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 - ผบ.1 ร้อย รพ.ศ. 2 กก.1 บก.สอ.บช.ตชด. (ยศสิบตำรวจตรี)
- 7 กันยายน พ.ศ. 2552 - ผู้บังคับหมู่กองกำกับการ 1 บก.สอ.บช.ตชด.
- 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 - รองสารวัตรงานธุรการ กองกำกับการสุนัขและม้าตำรวจ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ (บก. สปพ.) (ยศร้อยตำรวจตรี)
- 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 - รองสารวัตรงานสายตรวจ/อารักขา กองกำกับการสุนัขตำรวจ
- ผู้บังคับหมวด (สบ 1) กองร้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 2 กองกำกับการต่อต้านการก่อการร้าย กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
ยศ
[แก้]- 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 - ร้อยตำรวจตรี
- 1 มกราคม พ.ศ. 2556 - ร้อยตำรวจโท [1]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2559 - ร้อยตำรวจเอก [2]
- 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 - พลตำรวจโท (เป็นกรณีพิเศษ) [3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[4]
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)[5]
- พ.ศ. 2555 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๑๙๓)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร (หน้า ๓๕๔)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจเป็นกรณีพิเศษ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-04-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๕๗, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๘๘, ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๔๘, ๒๕ เมษายน ๒๕๕๕